ระบบสุริยะจักรวาลเป็นสิ่งหนึ่งที่น่าค้นหาอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการอยากรู้ว่าภายนอกของโลกใบนี้มีอะไรที่น่าสนใจให้ได้ค้นคว้ากันอีก ดาวเคราะห์จึงถือว่าเป็นดวงดาวในระบบสุริยะ โดยดาวเคราะห์ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีก็เช่น ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวเสาร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามดาวเคราะห์ที่ห่างไกลออกไปก็ยังคงมีการตั้งข้อสันนิษฐานกันอยู่เรื่อยๆ ว่าดวงดาวที่ว่านี้น่าจะเป็นดาวที่อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก็เป็นได้ ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่ถูกตั้งชื่อให้น่าสนใจอย่างมากก็คือ ดาวยูเรนัส
รู้จักกับดาวยูเรนัส
ดาวยูเรนัส คือดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะจักรวาลอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 จากการจัดอันดับของมนุษย์บนโลก ดาวดวงนี้ถือว่าเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 จากดวงดาวทั้งหมดที่ศึกษากัน ถูกตั้งชื่อขึ้นตาม Ouranos ซึ่งเป็นเทพเจ้าในตำนานของกรีซ ชื่อภาษาไทยถูกเรียกอีกอย่างว่า ดาวมฤตยู ชั้นบรรยากาศภายนอกของดาวดวงนี้จะประกอบไปด้วยไฮโดรเจน กับ ฮีเลียม เป็นหลัก แต่จากการศึกษาพบว่าลึกลงไปในดาวดวงนี้จะประกอบไปด้วยแอมโมเนีย มีเทน ผสมกันอยู่ เป็นดาวที่แผ่ความร้อนออกจากตัวเองน้อยมากซึ่งอาจเกิดจากภายในดาวไม่เกิดการยุบตัวแล้ว แต่อีกกรณีก็มองว่าอาจมีอะไรบางอย่างที่ปิดกั้นเอาไว้อยู่ก็ได้แต่ยังไม่สามารถศึกษาได้อย่างชัดเจน นักดาราศาสตร์เองก็คาดว่าแกนของดาวดวงนี้จะคล้ายกับดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ถัดมาก็จะเป็นแกนชั้นนอกที่มีแอมโมเนียกับมีเทนอยู่มากมาย นั่นจึงทำให้ทุกคนมองเห็นดาวดวงนี้เป็นสีเขียว
ด้วยความที่เป็นดาวค่อนข้างห่างไกลจากดวงอาทิตย์ทำให้จากการศึกษาพบว่าดาวดวงนี้จะโคจรผ่านดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 84 ปี ตัวแกนของดาวทำมุม 98 องศา ระนาบกับระบบสุริยะ ส่งผลให้ฤดูกาลต่างๆ บนดาวดวงนี้จะยาวนานมากๆ พูดง่ายๆ คือ ด้านที่ไม่โดนแสงอาทิตย์มากจะเป็นฤดูหนาว 42 ปี แต่บางครั้งบนดาวดวงนี้ก็เชื่อว่าดวงอาทิตย์อาจไม่ตกเลย 42 ปี ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามด้วยความไกลของดวงดาวทำให้ความร้อนและแสงของดวงอาทิตย์ส่องไปถึงน้อยมาก สภาพอากาศกลางวันกับกลางคืนจึงต่างกันเพียง 2 องศาเซลเซียสเท่านั้น การหมุนของดาวดวงนี้รอบดวงอาทิตย์จะหมุนตามเข็มนาฬิกาเหมือนกับดาวศุกร์ซึ่งตรงข้ามกับดาวดวงอื่นๆ
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส
ผู้ที่ทำการค้นพบดาวยูเรนัสคือ เซอร์วิลเลี่ยม เฮอร์เซล นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน โดยเป็นการค้นพบอย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1781 ขณะที่กำลังส่องกล้องโทรทรรศน์เพื่อศึกษาดาวฤกษ์ ก่อนที่ในปี ค.ศ. 1977 นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์นจะพบว่าดาวดวงนี้มีวงแหวนจางๆ รอบดวงดาวด้วย