ฝนดาวตกที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ ?
meteor_shower

เรามักจะมีความเชื่อเกี่ยวกับฝนดาวตกในเชิงเหนือธรรมชาติ คนเราเชื่อกันว่าเมื่อเห็นฝนดาวตกให้ตั้งใจอธิษฐานก่อนที่มันจะลับฟ้าจะช่วยให้คำอธิษฐานของเราเป็นจริง ซึ่งเป็นความเชื่อสืบต่อกันมานับแต่อดีตและได้แพร่ไปทั่ววัฒธรรมทั่วโลกไม่เว้นแต่ประเทศไทย แต่เมื่อเราถามว่าแท้จริงแล้วฝนดาวตกคืออะไรคนส่วนใหญ่กลับไม่มีใครตอบได้ ดังนั้นแท้จริงแล้วฝนดาวตกคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร เราจะมาหาคำตอบร่วมกันในวันนี้ ตัวตนที่แท้จริงของฝนดาวตก ฝนดาวตกเกินจาก “อุกกาบาต” ที่เปร่งแสงออกมา จนเรามองเห็นเป็นเส้นราวกับว่ามันกำลังบินด้วยความเร็วสูง เป็นร่องรอยของซากดาวหางที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังจนเห็นเป็นทางยาว อุกกาบาตจส่วนใหญ่มักจะกระจัดกระจายอยู่วงโคจรอยู่แล้ว เมื่อวงโคจรของโลกตัดกับเส้นทางของฝุ่นดาวหางพวกนี้ (โลกพุ่งชนกับเศษดาวหาง) เราก็มักจะเห็นพวกมันเผาไหม้อย่างรวดเร็วบนชั้นบรรยากาศโลก ปรากฎการณ์ฝนดาวตกที่มีชื่อเสียง ฝนดาวตกอาจเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ ส่วนที่มีชื่อเสียงสุดได้แก่ Geminids และ Quadrantids ทั้งสองต่างเกิดจากเศษของดาวเคราะห์น้อยที่หลุดออกมา โดย Quadratids เกิดจากเศษของดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1 ส่วน Geminid เกิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 Phaethon นอกจากนี้ยังมี Orionid Meteor ที่มักจะเกิดขึ้นทุกเดือนตุลาคมของทุกปี เกิดจากฝุ่นของเศษดาวหาง Halley นั่นเอง ความจริงแล้วฝนดาวตกเกิดได้ทั้งกลาววันและกลางคืน แต่ถ้าเกิดตอนกลาวันเรามักจะมองไม่เห็นเพราะแสงอาทิตย์บดบังพวกมันหมด ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับชมฝนดาวตกคือช่วงเช้ามืด หรือเป็นคืนวันมืดที่ดวงจันทร์ไม่สว่างมากนัก ในแต่ละปีมักจะมีฝนดาวตกเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 21 ครั้ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างช่วงเดือน เมษายน – ตุลาคม สามารถติดตามช่วงเวลาที่แน่นอนได้จากเว็บไซต์อย่าง Earthsky หรือ […]

Read more
ดวงดาวที่อยู่นอกเหนือจากดวงดาวในระบบสุริยะ Makemake และ Haumea

เรื่องราวดาราศาสตร์เป็นสิ่งที่มนุษย์ค้นหาคำตอบมาอย่างเนิ่นนาน ตั้งแต่สังเกตการเคลื่อนตัว การสำรวจดวงดาวฯลฯ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ยิ่งเราสำรวจมากเท่าไร เราก็ยิ่งค้นพบเรื่องที่ยังไม่รู้มากขึ้นเท่านั้น ล่าสุดด้วยเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นทำให้เราได้ค้นพบดาวดวงใหม่ สุดขอบสุริยะ ย้อนกลับไปตอนเด็กหากเราไม่ได้เป็นคนที่สนใจเรื่องราวดาราศาสตร์มากนัก จะมีภาพจำอย่างหนึ่งว่าระบบสุริยะจักรวาลของเราสุดขอบก็คือ ดาวพลูโต ที่ไกลเกินกว่าที่เราจะจินตนาการไปถึง แต่เทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น นิยามสุดขอบจักรวาลก็เปลี่ยนแปลงไป พวกเค้ากำหนดสุดขอบจักรวาลขึ้นใหม่ภายใต้ชื่อว่า Heliosphere ซึ่งเป็นขอบเขตที่ไกลกว่าดาวพลูโตมากนัก เมื่อกำหนดขอบเขตขึ้นใหม่ทำให้ระยะพื้นที่สำรวจขยายกว้างขึ้นไปอีก วัตถุโพ้นดาวเนปจูน ย้อนกลับไปตอนที่เราเจอดาวพลูโต มันถูกกำหนดให้เป็นวัตถุโพ้นดาวเนปจูนเท่านั้นเอง แต่ดาวพลูโตไม่ได้เป็นเพียงแค่วัตถุชิ้นเดียวที่ถูกค้นพบ จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การสำรวจทำได้มากขึ้นทั้งในแง่ของคุณภาพ และปริมาณ เราเลยค้นพบวัตถุโพ้นดาวเนปจูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้เราค้นพบวัตถุดังกล่าวมากถึง 2,000 ชิ้น Makemake กับ Haumea ที่ต้องเล่าเรื่องราววัตถุโพ้นดาวเนปจูน ก็เพราะว่าเราค้นพบวัตถุมากมาย บางชิ้นมีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโตเลย หนึ่งในนั้นก็คือ Makemake อ่านว่า มาเกะ มาเกะ ชื่อตามเมืองฮาวาย ตัวนี้ถูกค้นพบเมื่อปี 2005 ตัวดาวมีขนาดใหญ่ประมาณสองในสามของพลูโต นอกจากนั้นมันยังมีดวงจันทร์เป็นบริวารอีก 1 ดวงด้วยวงโคจรของมันรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลามากถึง 309 ปี มากกว่าโลกหลายเท่าทีเดียว อีกหนึ่งวัตถุที่มาคู่กันเลยก็คือ Haumea ดาวดวงนี้เด่นหน่อยตรงที่รูปทรงเป็นวงรี รูปทรงแบบนี้ทำให้มันหมุนรอบตัวเองใช้เวลาไม่นานเพียงแค่ 4 […]

Read more
ปรากฏการณ์ Sun dogs ที่ทำให้มีดวงอาทิตย์ถึง 3 ดวง มาได้ยังไง

บนโลกใบนี้ยังมีอะไรแปลกประหลาดให้คนเราได้พบเจออีกมาก เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติก็ไม่ผิดหนักแถมหลาย ๆ ปรากฏการณ์ยังไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ เสียด้วย ดังนั้นในช่วงชีวิตคน ๆ หนึ่งหากได้มีโอกาสพบเจอกับสิ่งเหล่านี้ก็ควรค่ากับการสัมผัสเหมือนกัน

Read more